Sunday, August 12, 2012
การเลี้ยงดูลูกสุนัขในฤดูหนาว
ปลายฝนต้นหนาว ช่วงการเปลี่ยนฤดูใหม่ ๆ ไม่ใช่แค่คนเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นไข้หวัด ในช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวนี้เองมักจะพบได้ว่าสุนัขแสนรักก็มีอาการเจ็บป่วย ด้วยโรคหลาย ๆ โรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สุนัขมักจะเป็นโรคติดต่อซึ่งไม่มียาตัวใดที่จะฆ่าเชื้อไวรัสนี้ได้ การที่จะทำให้สุนัขหายป่วยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิคุ้มกันของตัวสัตว์เอง การรักษาจึงเป็นเพียงการประคับประคอง โดยการให้น้ำเกลือ และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นต้น
โรคชนิดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับลูกสุนัขในช่วงฤดูหนาว
ไวรัส canine herpevirus ลูกสัตว์แรกเกิดร่างกายมีอุณหภูมิต่ำ จะมีความไวต่อการติดเชื้อไวรัสนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายในลูกสัตว์แรกเกิดที่อายุระหว่าง 9-14 วัน ลูกสุนัขสามารถติดต่อจากแม่สัตว์ผ่านทางน้ำลาย น้ำจากช่องคลอด จะมีอาการกระวนกระวาย ร้องตลอดเวลา ปวดท้อง หายใจถี่ อาจชักหรือเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง การรักษาทำได้เพียงแบบประคับประคอง ได้แก่ การให้สารน้ำทดแทน และการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เพราะไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ดังนั้นควรรักษาสุขภาพแม่สุนัขให้แข็งแรง ให้ลูกสุนัขอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นประมาณ 37 องสาเซลเซียส
โรคไข้หัดสุนัข canine distemper เกิดจาดการติดเชื้อไวรัส สามารถติดต่อได้หลายทางไม่ว่าจะเป็น ทางอุจจาระ น้ำลาย ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำตา และที่สำคัญคือการติดต่อผ่านทางอากาศและการหายใจอาการในรายที่รุนแรงจะพบว่า สัตว์มีน้ำมูกน้ำตา ไอ หายใจลำบาก ท้องเสีย อาเจียน ปอดปวม บริเวณจมูกและฝ่าเท้าจะหนาตัวขึ้น และอาการทางประสาท เช่น ชัก อัมพาต การรักษาทำได้เพียงแบบประคับประคอง เช่นเดียวกัน โรคไข้หัดสุนัขสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนและไม่สัมผัสกับสุนัขที่ติด เชื้อ เนื่องจากสภาพอากาศเย็นนั้นความชุ่มชื้นของทางเดินหายใจส่วนต้นจะน้อยทำให้ กระบวนการป้องกันโรคของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ จะติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
โรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งไวรัส แบคทีเรีย หรือรวมกันทั้งสองอย่าง สามารถติดต่อทางการหายใจหรือสิ่งคัดหลั่ง พบได้บ่อยโดยเฉพาะแหล่งขายสุนัขที่เลี้ยงแออัด การระบายและสภาพแวดล้อมไม่ดี ร้อน หนาว หรือลมโกรกมากเกินไป มักแสดงอาการแบบเรื้อรัง มีไข้ไม่สูงนัก กินอาหารได้แต่น้อย ไอมีเสมหะ อาจพบน้ำมูกข้นเล็กน้อย การรักษาจึงทำได้เพียงแบบประคับประคอง เช่นเดียวกันแต่ถ้าไม่รักษาอาจปอดปวม หายใจลำบาก และเสียชีวิตได้ ควรป้องกันโดยปรับสภาพแวดล้อม ออกกำลังกาย อยู่ในที่ที่อบอุ่น
ทั้งนี้ อาจจะใส่เสื้อสำหรับสุนัขเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย จากทั้งหมดที่กล่าวมาพบว่า เรามักจะพบอัตราเสียชีวิตสูงที่สุดในลูกสุนัข ส่วนในรายสุนัขที่โตแล้วนั้น พบว่าอัตราการเสียชีวิตจะน้อยลงเนื่องจากร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ ดังนั้น การทำวัคซีนตามโปรแกรมในลูกสุนัขเป็นการป้องกันโรคที่ดีอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เจ้าของสุนัขควรตรวจเช็คประวัติวัคซีนประจำปี บำรุงรักษาสุขภาพร่างกายของสัตว์ให้แข็งแรง ได้รับโภชนาการที่เหมาะสม มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และงดการนำสุนัขไปพบปะกับสุนัขที่มีประวัติวัคซีนที่ไม่แน่นอน และพยายามให้ร่างกายสุนัขอบอุ่นอยู่เสมอ เท่านี้ก็สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคไวรัสในช่วงหน้าหนาวนี้ได้แล้ว
แหล่งที่มา กระปุกดอทคอม / โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
Labels:
การดูแลสุนัข
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment