เมื่อต้องพา สุนัข ออกนอกบ้าน ซึ่งอาจเป็นสถานที่ที่น้องหมาไม่คุ้นชิน
หรือพบปะผู้คน
แปลกหน้า สิ่งของแปลกปลอม
อาจจะทำให้สุนัขตื่นกลัว หรือมีอาการก้าวร้าวต่อสิ่งแปลกใหม่
ดังนั้น
วันนี้เรามีวิธีการพาเจ้าตูบออกนอกบ้านแบบมีความสุขมาบอกกัน
สังเกตนิสัยจากสายพันธุ์สุนัข
ก่อนอื่นเจ้าของต้องทำความเข้าใจ
ลักษณะนิสัย ของสุนัขของตน ซึ่งถ่ายทอดตามลักษณะสายพันธุ์
ซึ่งโยงไปถึงพฤติกรรมการแสดงออก เช่น สุนัขสายพันธุ์เทอร์เรีย
จะมีลักษณะความเป็นผู้นำค่อนข้างสูง ร่าเริง เมื่อต้องเจอสุนัขแปลกหน้า
มักชอบที่จะท้าทายสุนัขตัวอื่นเสมอ ซึ่งในส่วนนี้
สุนัขที่มีสายพันธุ์ที่มีความเป็นผู้นำเหมือนกัน เวลาสบตากันจะเกิดอาการเบ่งใส่กัน
และจะกระโจนเข้าหากัน ดังนั้นเจ้าของต้องเรียนรู้
และเข้าใจ
และสามารถดึงความสนใจของสุนัขก่อนที่จะมีการปะทะกัน
เช่น
ให้สุนัขหันมาสบตากับเจ้าของจะเป็นการดึงความสนใจจากสุนัข และทำให้สุนัขสงบลง
ทั้งนี้
ลักษณะนิสัยของสุนัขโดยทั่วไป จะไม่ชอบการประจันหน้า อย่างเช่น เวลามีคนเดินเข้าไปหามันโดยตรง
มันจะคิดว่าเป็นการท้าทายมัน สุนัขจะกระโจนหรือวิ่งเข้าใส่
เพราะคิดว่าเราคือศัตรูของมัน แต่หากเราเข้าไปยืนข้างๆ
สุนัขจะรู้สึกได้ว่าเรามาอย่างเป็นมิตร มันก็จะให้ความเป็นมิตรด้วย
ใช้โทนเสียงช่วยในการควบคุมพฤติกรรม
ในความเป็นจริงแล้ว
สุนัขจะไม่เข้าใจในภาษาที่เจ้าของสั่ง แต่จะเข้าใจตามโทนเสียงและลักษณะอาการที่สั่ง เช่น ถ้าเจ้าของสั่งให้ทำด้วยโทนเสียงเรียบ
และเมื่อทำตาม เจ้าของกล่าวชื่นชม และลูบตามลำตัวด้วยโทนเสียงสูง สุนัขจะจำ ในขณะที่หากใช้โทนเสียงดัง ต่ำ เมื่อสั่งให้หยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เจ้าตูบจะจดจำทันที ดังนั้นเมื่อ หัดให้น้องหมาได้เข้าใจถึงโทนเสียงและอากัปกิริยาที่ต้องการให้เขาทำ เขาจะจำและทำตามทุกครั้ง
ดังนั้น
การใช้โทนเสียงกับสุนัขถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ หากต้องการให้สุนัขเชื่อฟัง เจ้าของสุนัขควรใช้เสียงที่ค่อนข้างขึงขังและหนักแน่น หากเป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากช่องท้องโดยตรงจะยิ่งทำให้เสียงมีพลังในการ สั่งสุนัขมากยิ่งขึ้น และสุนัขก็จะยอมเชื่อฟัง
การใช้โทนเสียงที่ดังและดุ สุนัขจะเชื่อฟัง เพราะจะทำให้สุนัขเข้าใจว่าเจ้าของคือนายและสามารถควบคุมมันได้ แต่ถ้าหากเจ้าของปฏิบัติต่อมันเหมือนเพื่อนมันก็จะรู้สึกว่าตัวเองมีความ เสมอภาคและเท่าเทียมกันดังนั้นมันก็จะไม่ฟังคำสั่งจากเจ้าของเลย เช่นเดียว กันเมื่อเจ้าของใช้โทนเสียงสูง
สุนัขจะเข้าใจได้ว่า ขณะนั้นเจ้าของกำลังมีความสุข มันก็จะตอบสนองด้วยการกระดิกหางเพื่อแสดงให้เจ้าของเห็นว่ามันก็มีความสุข เช่นกัน
สายจูง-ตัวช่วย เมื่อต้องพาเจ้าตูบออกนอกบ้าน
สายจูงจะช่วยสื่อให้สุนัขได้รู้สึกถึงการควบคุมจากเจ้าของ เมื่อต้องพาสุนัขออกนอกบ้าน
และเป็นการลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น เมื่อสุนัขเจอคนหรือสิ่งแปลกปลอม เพราะการใช้และควบคุมสุนัขผ่านสายจูงจะทำได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการปล่อย สุนัขเป็นอิสระ สำหรับสุนัขพันธุ์ใหญ่ ควรใช้แบบที่เป็นโซ่คล้องคอ เนื่องจากเวลาเราต้องการจะปรามมัน
เพียงแค่กระตุกสายจูง จะสามารถทำให้สุนัขรับรู้และรู้สึกได้ดีกว่าการคล้องสายไว้ที่ลำตัว ทั้งยังทำให้สุนัขเชื่อฟังและรับรู้ว่าเจ้าของต้องการอะไรอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม
สายจูงบางชนิดที่มีลักษณะของโซ่ ที่ดูแล้วน่ากลัว แท้จริงแล้วถูกออก แบบมาให้มีลักษณะคล้ายกับเขี้ยวของแม่สุนัข เมื่อเจ้าของกระตุกจะคล้ายกับ อาการที่แม่สุนัขงับคอลูกเพื่อป้องปรามเมื่อลูกสุนัขทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เมื่อสุนัขรู้สึกได้ถึงแรงกระตุกจะรู้ว่าเป็นการปรามพฤติกรรมที่กำลังทำ อยู่
ซึ่งการกระตุกโซ่ที่ล่ามคอนั้นไม่ได้ทำให้สุนัขรู้สึกเจ็บ
เมื่อน้องหมาต้องเจอสิ่งของหรือเสียงแปลกปลอม
เจ้าของต้องสังเกตและเรียนรู้ว่า สุนัขของตนมีปฏิกิริยาต่อสิ่งของหรือเสียงที่เขาไม่เคยพบหรือได้ยินเมื่อ อยู่ในบ้านอย่างไร เพราะกิริยาที่แสดงออกนั้นจะทำให้รู้ว่าสุนัขกลัวหรือ รู้สึกอย่างไรต่อเสียงหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ในกรณีที่สุนัขมีอาการตกใจ ตื่นกลัวจากเสียงดัง ๆ
อย่างเช่นเสียงฉาบตีกระทบกัน เสียงเครื่องบิน เสียงฟ้าร้อง เสียงแมวร้อง และเสียงเด็กร้อง
สุนัขจะเห่า
การที่จะทำให้สุนัขหยุดเห่าหรือทำให้มันสงบลง เจ้าของควรสั่งให้สุนัขนั่งลงข้าง ๆ
จะสามารถทำให้สุนัขสงบลงได้ เพราะการทำเช่นนี้เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากเสียงที่มันได้ยิน
สิ่งสำคัญที่เจ้าของไม่ควรทำเวลาสุนัขมีอาการตกใจหรือตื่นตระหนก คือ การตบหัวหรือลูบหัวสุนัข เนื่องจากเจ้าของหลายท่านเข้าใจว่าการตบหัวสุนัขจะเป็นการปลอบสุนัข ซึ่งจริงๆแล้วเป็นวิธีการที่ผิด
เพราะจะเป็นการตอกย้ำให้สุนัขเข้าใจว่า มันควรจะเห่าและกลัวต่อไป
ป้องกันน้องหมาจากการปะทะกับสุนัขตัวอื่น
เมื่อต้องพาสุนัขเดินหรือผ่านสุนัขตัวอื่น ปฏิกิริยาปกติของสุนัขก่อนจะมีเรื่องกับสุนัขตัวอื่นคือการจ้องตา
และนิ่ง
เพื่อทดสอบกำลังว่าตัวใดมีความเข้มแข็งกว่ากัน
ดังนั้น
เจ้าของจะต้องมีความไวในการรับรู้ถึงพฤติกรรมนี้ เจ้าของต้องทราบก่อนว่า ขณะนั้นสุนัขกำลังสนใจอะไรอยู่ โดยสังเกตท่าทาง และก่อนที่สุนัขจะจู่โจมสุนัขตัวอื่น เจ้าของจะต้องรีบทำให้มันหันไปมองทางอื่นทันที เพื่อเป็นการดึงสมาธิของมันให้ไปสนใจกับสิ่งอื่นแทน ซึ่งการสั่งให้สุนัขนั่งลง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้สุนัขสงบลงได้เช่นกัน
แหล่งที่มา โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ