Wednesday, July 24, 2013

โรคไข้หัดสุนัข ภัยร้ายสำหรับลูกหมา




        โรคไข้หัดสุนัขหรือที่เรียกว่า Canine Distemper (CD) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข Canin Distemper Virus (CDV) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Morbillivirus ทำให้เกิดโรคได้ในสุนัขและสัตว์อื่นที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ สุนัข เช่น สุนัขป่า มิ้งค์ สกั๊งค์ แรคคูณและ เฟอร์เร็ท ซึ่งสัตว์เหล่านี้มักจะเป็นตัวพาหะนำโรคมาสู่สุนัขบ้าน

          ไข้หัดสุนัข เป็นโรคติดเชื้อที่พบอาการได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ทั้งในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และผิวหนัง โดยการเกิดโรคมักจะรุนแรง อัตราการตายสูง โดยเฉพาะในลูกสุนัขอายุระหว่าง 6-12 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความไวต่อไวรัสชนิดนี้

สาเหตุของโรค

          ไข้หัดสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Morbillivirus ซึ่งเป็น RNA virus เชื้อจะถูกทำลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด อากาศแห้ง และน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในกลุ่มอีเทร์ ฟีนอล คลอโรฟอร์ม และคลอไรด์

การติดเชื้อ

          การ ติดเชื้อไข้หัดสุนัข ที่สำคัญมากที่สุดคือ การหายใจเอาเชื้อที่ปะปนในอากาศเข้าไป นอกจากนั้นยังพบว่าสามารถติดต่อ ได้จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา หรือสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ โดยตรง แต่ ยังไม่มีรายงานว่าสามารถติดต่อได้โดยการกิน  หลังจากสุนัขได้ รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว เชื้อไวรัสจะเข้าไปฟักตัวอยู่ที่ทอนซิล และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น

          ระยะฟักตัวของโรคในสุนัขเฉลี่ยประมาณ 7-14 วัน โดยในระยะนี้เราอาจไม่พบความผิดปกติต่อตัวสุนัข หลังจากนั้นก็จะมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปทั่วร่างกาย โดยผ่านทางเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Iymphocyte) โมโนไซด์ (Monocyte) รวมทั้งแมกโครฟาจ์ (Macrophage) ทำให้เกิดการติดเชือในระบบน้ำเหลือง และกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ง่าย รวมทั้งตัวไวรัสเองเข้าทำลายเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกายจึงมักพบว่าสุนัขป่วย มักจะติดเชื้อได้หลายๆ ระบบร่วมกัน เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัว และระบบประสาท

อาการของโรค

          1. มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร พบได้ในระยะแรกที่มีการฟักตัวของโรค

          2. ระบบทางเดินหายใจ พบน้ำมูก น้ำตาไหล ไอ จาม หายใจลำบาก ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน น้ำมูกน้ำตาที่พบก็จะมีลักษณะขุ่นข้น

          3. ระบบทางเดินอาหาร มักจะพบว่าสุนัขมีอาเจียน และท้องเสีย แต่อาการจะไม่รุนแรงเหมือนการติดเชื้อลำไส้อักเสบ

          4. ระบบผิวหนัง พบว่าสุนัขจะมีตุ่มหนองกระจายตามตัว โดยจะพบมากบริเวณใต้ท้อง นอกจากนั้นในสุนัขที่มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังจะพบว่ าผิวหนังบร ิเวณอุ้งเท้าจะหนาตัวขึ้นมากกว่าปกติ (hard pad)

          5. ะบบประสาท เมื่อเชื้อไวรัสกระจายเข้าสู่ก้านสมองและสมอง สุนัขจะไม่รู้สึกตัว ชัก กระตุม ควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองไม่ได้ อาการที่พบบ่อย ๆ คือสุนัขจะเกร็ง งับปาก (gum chewing)

การวินิจฉัย

          1. ประวัติ และอาการของสัตว์ป่วย

          2. ตรวจเลือด ดูภาวะติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่เฉพาะเจาะจง และอ่านผลเลือดได้ไม่แน่นอน

          3. การตรวจทางเซลล์วิทยา ย้อมสีดู Inclusion body ซึ่งมีความแม่นยำน้อย และไม่นิยมในปัจจุบัน

          4. การตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนตี้บอดี้ของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัส แต่การแปรผลอาจจะผิดพลาด ถ้าหากว่าสุนัขมีภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่ หรือได้รับภูมิคุ้มกันจากการทำวัคซีน

          5. การ ตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรงในกระแสเลือด น้ำมูก น้ำตา และสิ่งคัดหลั่งต่างๆ วิธีนี้จะมีความแม่นยำสูงเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน และมีค่าใช้จ่ายสูง

การรักษา

          ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดใดที่จะใช้ในการรักษาโรคไข้หัดสุนัขได้ ผล การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการและป้องกันการติดเชื้ อแทรกซ้อน ดังนี้คือ

          1. ให้ยาปฎิชีวนะ ควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

          2. ให้น้ำเกลือ และสารอาหารเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำและสารอาหาร

          3. ให้ออกซิเจนในกรณีที่สุนัขมีอาการหายใจลำบาก ขาดออกซิเจนเนื่องจากเกิดปอดบวม (pheumonia)

          4. ให้ยาสงบประสาท หรือยาแก้ชัดในกรณีที่สุนัขมีอาการทางประสาทเนื่องจา กเชื้อไวรั สเข้าสู่สมอง

การป้องกัน

          1. แยกเลี้ยงสุนัขที่ไม่ทราบประวัติวัคซีนประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนนำมาเข้ากลุ่ม

          2. ให้วัคซีนในลูกสุนัข โดยลูกสุนัขในกลุ่มเสี่ยงต่อการติเชื้อไข้หัดสุนัข สามารถทำวัคซีนนได้ตั้งแต่อายุ 1 1/2 เดือน ส่วนลูกสุนัขโดยทั่วไปจะทำวัคซีนได้ในอายุ 2 เดือน หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำเพื่อให้ระดับภูมิคุ้ม กันสูงพอที่จะป้องกันโรคได้ หลังจากนั้นควรจะทำวัคซีนไข้หัดสุนัขซ้ำทุกๆ ปี โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนานำวัคซีนไข้หัดสุขไปรวมกับวัคซีนป้องกันโรคชนิด อื่นๆ เช่น ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ และพิษสุนัขบ้า เพื่อความสะดวก และจดจำง่าย

แหล่งที่มา  http://pet.kapook.com/view3516.html

Sunday, July 7, 2013

มินิเอเจอร์ พินเชอร์ ราชาแห่งสุนัขกลุ่มทอย




         ในเมืองไทย ใคร ๆ ต่างก็รู้จัก สุนัขพันธุ์ มินิเอเจอร์ พินเชอร์ ในนามของหมากระเป๋า หากแต่ในต่างประเทศนั้น สุนัขพันธุ์มินิเอเจอร์ พินเชอร์ กลับได้รับฉายาว่า "The King of Toys" ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "ราชาแห่งสุนัขกลุ่มทอย" นั่นเอง

         หลายคนคงสงสัย เหตุไฉน มินิเอเจอร์ พินเชอร์ จึงได้ฉายานี้ ทั้ง ๆ ที่หากวัดกันที่กระแสนิยมแล้ว ชิวาวา หวานใจตัวจ้อยซึ่งกำลังฮิตติดลมบนอยู่ในขณะนี้ น่าจะกินขาดชนะแบบใส ๆ โดยไม่ต้องนับคะแนนกันเลยทีเดียว

 
         หากแต่ฉายา  "The King of Toys" นั้น ไม่ได้มา เพราะโชคช่วยและไม่ได้วัดกันที่กระแสนิยมในการเลี้ยง แต่มาจากนิสัยที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว สู้ไม่ถอย ตรงข้ามกับขนาดของลำตัวที่เล็กกะทัดรัดโดยสิ้นเชิง 


          การระแวดระวังภัยให้กับอาณาเขตของตนไม่ต่างกับพระราชาที่คอยปกป้องดินแดนจาก การรุกรานของข้าศึก ประกอบกับท่วงท่าการเคลื่อนไหวที่สง่างาม ปราดเปรียว และความเฉลียวฉลาดของสุนัขพันธุ์นี้ ทำให้ มินิเอเจอร์ พินเชอร์ ได้รับฉายา "The King of Toys" โดยที่ไม่มีใครกล้าคัดค้าน

แหล่งที่มา  http://pet.kapook.com/view13939.html, Dogazine